วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เลซิติน (Lecithin)

 ความลับของเลซิตินค่ะ

ในปัจจุบัน ผู้บริโภคนิยมเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมจากธรรมชาติเพื่อรักษาสุขภาพ 
ทำให้ เลซิตินเป็นอาหารเสริมที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มคนที่เอาใจใส่ดูแลสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากมีความเชื่อว่าเลซิตินจะช่วยบำรุงสมอง ป้องกันโรคความจำเสื่อม รวมทั้งช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด จึงเป็นเรื่องน่าสนใจว่าเลซิตินคืออะไร มีความสำคัญ และมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร


ไฟล์:1-Oleoyl-2-almitoyl-phosphatidylcholine Structural Formulae V.1.png 

สารเลซิติน คืออะไร
เลซิติน (lecithin) คือสารประกอบของไขมันและฟอสฟอรัส เรียกว่า ฟอสโฟลิปิด (phospholipid) มีสารสำคัญคือ ฟอสฟาทิดิล โคลีน (phosphatidyl choline) ฟอสฟาทิดิล เอทาโนลามีน (phosphatidyl ethanolamine) ฟอสฟาทิดิล อิโนซิตอล (phosphatidyl inositol) และกรดฟอสฟาทิดิก (phosphatidic acid) ผลิตภัณฑ์ของเลซิตินมีลักษณะทั้งที่เป็นของเหลว ข้น เหนียว และเป็นของแข็ง ซึ่งขึ้นกับปริมาณสารสำคัญทั้ง 4 ชนิดดังกล่าวข้างต้น

แหล่งของเลซิติน
เลซิตินพบมากทั้งในไข่แดง นม สมอง ตับ ไต ถั่วเปลือกแข็ง ปลา ธัญพืช น้ำมันพืช และสัตว์ต่างๆ ในไข่แดงมีเลซิตินประมาณร้อยละ 6 - 8 สำหรับในพืช พบว่าถั่วเหลืองมีเลซิตินสูงที่สุดประมาณ ร้อยละ 1.1 - 3.2 ในข้าวโพดมี ร้อยละ 1.0 - 2.4 และในเมล็ดฝ้ายพบเพียงร้อยละ 0.7 เดิมการผลิต เลซิตินเพื่อการค้าจะผลิตจากไข่แดง เนื่องจากปริมาณสูง แต่มีปัญหาที่สำคัญคือ มีต้นทุนการผลิตสูง ภายหลังพบว่าสามารถผลิตเลซิตินได้จากอุตสาหกรรมน้ำมันถั่วเหลือง ทำให้มีต้นทุนการผลิตลดลง และเลซิตินที่ได้จากถั่วเหลืองมีคุณภาพดีกว่าจากไข่แดง เนื่องจากมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ดังนั้นเลซิตินที่สกัดจากถั่วเหลืองจึงเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
เลซิตินที่สกัดแยกออกจากน้ำมันถั่วเหลืองที่อยู่ในรูปของเหลว จะมีส่วนประกอบของไขมันประเภท ไตรกลีเซอไรด์สูงถึงร้อยละ 37 และมีโคลีนอยู่ร้อยละ 15 ส่วนเลซิตินที่อยู่ในรูปผงได้มาจาก เลซิตินในรูปของเหลวจึงมีโคลีนสูงถึงร้อยละ 23 และมีไตรกลีเซอไรด์เหลือเพียงร้อยละ 3 สารเลซิตินสังเคราะห์ที่วางขายในท้องตลาดมี 3 รูปแบบคือ แบบของเหลว แบบแคปซูล และแบบผง
คุณภาพของเลซิตินที่ดีจะต้องมีสารประกอบอื่นๆ เช่น น้ำมัน คาร์โบไฮเดรต ปะปนมาในปริมาณน้อย แต่ต้องมีส่วนประกอบของฟอสโฟลิปิดในปริมาณสูงโดยเฉพาะฟอสฟาทิดิล โคลีน เลซิตินที่สกัดได้จะมีสีแตกต่างกัน ตั้งแต่สีเหลืองจนถึงสีน้ำตาล ถ้าต้องการเลซิตินสีอ่อนอาจใช้สารเคมี เช่น ไฮโดรเจน เพอร์ออกไซด์ ช่วยในการฟอกสีให้ได้สีตามต้องการ

ประโยชน์ของเลซิติน
1. เลซิตินกับอุตสาหกรรม
เลซิตินถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรม เช่น

- ในอุตสาหกรรมการผลิตมาการีนจะมีการเติมเลซิตินลงไป เพื่อให้น้ำสามารถรวมตัวได้กับน้ำมัน และยังช่วยป้องกันการกระเด็นของน้ำมัน เมื่อใช้มาการีนทอดอาหาร
- ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มโกโก้ เลซิตินจะช่วยทำให้ส่วนผสมที่ไม่ค่อยละลายน้ำ ให้ละลายในน้ำได้เร็ว
- ในอุตสาหกรรมลูกกวาด โดยเฉพาะลูกกวาดที่มีความนุ่ม เช่น คาราเมล จะมีการเติมไขมันเพื่อลดความเหนียวแข็ง ทำให้ลูกกวาดนุ่มขึ้น และตัดเป็นชิ้นไม่ติดกัน

2. เลซิตินกับสุขภาพ
จากคุณสมบัติของไขมัน หรือ คอเลสเตอรอลที่ไม่ละลายรวมกับน้ำ ทำให้คอเลสเตอรอลไม่ละลาย ในเลือดและจะจับตัวเป็นก้อนตกตะกอนอยู่ในเส้นเลือด เลซิตินจะช่วยทำหน้าที่เป็นอิมัลซิไฟเออร์ ให้ไขมัน หรือคอเลสเตอรอลและน้ำรวมตัวกันได้ ทำให้ไขมันหรือคอเลสเตอรอลไม่เกาะติดกับผนังเส้นเลือด และเกิดการอุดตัน นอกจากนั้นกรดไขมันที่พบในเลซิตินส่วนใหญ่จะเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น กรดไลโนลีอิก กรดไขมันดังกล่าวจะช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหัวใจได้อีกด้วย นอกจากนั้นเลซิตินยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านอื่น ๆ เช่น
- ช่วยสลายนิ่วที่เกิดจากสารคอเลสเตอรอลในถุงน้ำดีและป้องกันไม่ให้เกิดนิ่ว
- ช่วยเสริมสร้างสุขภาพของไต
- ช่วยบำรุงสมองและระบบประสาท
- ช่วยบำบัดโรคตับและช่วยป้องกันไม่ให้ตับทำงานผิดปกติ
- ลดการเสื่อมของหลอดเลือดแดง

3. เลซิตินกับการเป็นอาหารเสริม
สำหรับผู้ที่มีสุขภาพดี อาจเลือกรับประทานเลซิติน จากอาหารที่มีเลซิตินเป็นองค์ประกอบ เช่น ไข่แดง พืชตระกูลถั่ว และธัญพืชที่ไม่ได้ขัดสีเปลือกออกหมด ในกรณีที่มีปัญหาสุขภาพข้างต้น อาจรับประทานเลซิตินเป็นอาหารเสริมควบคู่กับการรับประทานอาหารหลัก เช่น ข้าว เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ประกอบกับการออกกำลังกาย ตลอดจนการมีอารมณ์ที่แจ่มใส จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ
แม้ว่าเลซิตินจะมีประโยชน์หลายประการ แต่การรับประทานเลซิตินในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน น้ำลายหลั่งออกมาก เบื่ออาหาร เหงื่อออกมาก ดังนั้นผู้บริโภคควรระมัดระวังในการใช้เลซิตินสังเคราะห์ ควรรับประทานอาหารที่มี เลซิตินตามธรรมชาติก็จะได้ประโยชน์ เช่นเดียวกัน




เลซิตินเป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มวัตถุเจือปนอาหาร ซึ่งกำหนดอยู่ในประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 พุทธศักราช 2547 ซึ่งจะต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพก่อนการจำหน่าย ดังนั้นในการเลือกซื้อเลซิตินสังเคราะห์ ผู้บริโภคควรดูว่าสินค้ามีเครื่องหมาย อย. วันหมดอายุ ชนิด และปริมาณสารสำคัญในผลิตภัณฑ์หรือไม่

วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อาหารกับกรุ๊ปเลือด






 เลือดกรุ๊ปอะไรกันเอ่ย พิมเลือดกรุ๊ป B พอดีได้ความรู้ใหม่ๆ ก็ทราบมานิดหน่อยแล้ว
 ว่าไม่ควรกินอะไร ไม่กินอะไร  วันนี้พอเจอตำรามาเอามาแลกเปลี่ยนกันค่ะ






คนเลือดกรุ๊ป B....จัดอยู่ในพวกสมดุล เพราะเป็นเลือดเพียงกรุ๊ปเดียวที่สามารถรับประทานอาหารนม เนย ไข่ ได้อย่างเต็มที่

แต่โปรตีนชนิดที่เลือดกรุ๊ปบี รับประทานแล้วเป็นผลร้ายมากที่สุดคือ
ไก่ Lectin ในเนื้ออกไก่ จะรบกวนระบบและนำไปสู่อาการเส้นเลือดแตกหรือตีบในสมอง รวมถึงโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง จึงควรรับประทานไก่งวงแทน




คนเลือดกรุ๊ปบี..... ควรจะรับประทานปลาน้ำลึก เช่นปลาหิมะ และ ปลาเนื้อขาว เช่น ปลาจะระเม็ด ปลาตาเดียว

ร่าง กายของเลือดกรุ๊ปบี.....จะตอบสนองต่อน้ำมันโอลีฟ ดีมากควรทานไม่น้อยกว่าวันละ 1 ช้อนโต๊ะ ส่วนข้าวโอ๊ตกับข้าวกล้องนั้นจะมีประโยชน์ต่อกรุ๊ปบีเช่นเดียวกัน

ถั่ว ต่าง ๆ ไม่ดีนักต่อเลือดกรุ๊ปบี....โดยเฉพาะถั่วลิสง งา และเม็ดทานตะวัน ซึ่งมี Lectin ที่รบกวนระบบสร้างอินซูริน สิ่งนี้มีผลร้ายทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้มากในคนที่มีเลือดกรุ๊ปนี้ ถั่วแดงหลวง Lima , Navy และถั่วเหลืองทานได้แต่อย่ามากนัก เพราะพืชตระกูลถั่วและนัท อื่น ๆ จะมีแนวโน้มทำให้เกิดโรคน้ำตาลในเลือดลดกะทันหัน

คนเลือดกรุ๊ปบี....สามารถเลือกรับประทานผักได้เกือบทั้งหมด เว้นอยู่ไม่กี่ชนิด เช่น มะเขือเทศ ข้าวโพด

เลือดกรุ๊ปบีนั้น....มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับไวรัสและภูมิคุ้มกันบกพร่อง
จึงควรรับประทานผักใบเขียวมาก ๆ เพราะมีแมกนีเซียมซึ่งช่วยป้องกันโรคผื่นคันในเด็ก ส่วนผลไม้นั้นก็สามารถรับประทานได้แทบทุกชนิด
เพราะมีระบบย่อยที่สมดุล มีแต่...ลูกพลับ , ทับทิม และ ลูกแพร์ ที่ควรเลี่ยง

คนเลือดกรุ๊ปบี....ควรรับประทานผลไม้ที่มีผลต่อเลือด 2-3 ครั้ง ต่อวันจะให้ผลดีในการรักษาโรคและลดความเจ็บป่วยด้วย 








เครดิต ...จากเวปพันทิปนะคะ

วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หมอนามัยไปงานแต่ง

งานแต่งที่ใด เป็นได้แค่แขกรับเชิญ

อยากแต่งอย่างเขาเหลือเกิน ......






ปี 2555 สงสัยปีนี้เป็นปีดี งานแต่งงานจึงได้ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด ถ้านับคร่าวๆว่าตัวเองได้การ์ดแต่งงานกี่ใบแล้ว จำนวนนิ้วที่มีในร่างกาย ก็ยังนับไม่ถ้วน แม่เจ้า.....เยอะมากจริงๆ

นอกจากคนธรรมดาจะแต่งงานเยอะแล้ว ดาราและเหล่าบรรดาเซเลบเองก็แต่งงานเยอะมากเช่นกัน
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ไปงานแต่งหรอกค่ะ 
แต่อยู่ที่ ชุดที่เราจะใส่ไปงานแต่งงานต่างหาก 
เราจะแต่งตัวแบบไหนดี
ใส่เสื้อผ้าสีอะไร
ใส่กางเกงได้ไหม  เอ๊ะแล้วใส่สีอะไรบ้าง โอย.... ยิ่งคิดก็ยิ่งปวดหัว
เอาละค่ะ ทีนี้เราจะมาแนะนำการแต่งตัวดีๆสวยๆไปงานแต่งงานกัน
ออกตัวก่อนนะคะว่าตัวพิมเองก็ไม่ได้เป็นกูรู แต่ว่าก็เป็นคนที่ศึกษาหาข้อมูลมาพอสมควร
เลยอยากแนะนำคนที่อยากจะหาไอเดียแจ่มๆไปงานแต่งบ้าง
แลกเปลี่ยนกันค่ะ

ชุดไปงานแต่งเก๋

เครดิตจาก http://wedding.kapook.com/วางแผนแต่งงาน-36306.html

ใส่กระโปรงคงมีเยอะแล้ว ดูที่เป็นกางเกงมั่งดีกว่า






















สวยดีเหมือนกันแถมยังเก๋ด้วย สำหรับใครที่หุ่นดีๆ ใส่แล้วอาจเกิดเลยทีเดียว

ขอขอบคุณภาพสวยจากจากเวปข้างล่างนี้เลยค่ะ เป็นเวปพรีออเดอร์

เสื้้อผ้าสวยงามมาก ใครที่ไม่มีปัญหาภาษาจีน สั่งซื้้อได้เลย  พิมเองก็เคยส่งซื้้อ

ใช้ Google Translate เอา สวยใช้ได้นะคะ แต่ครั้งหน้าคงไม่สั่ง รู้สึกลำบาก ซื้อที่ไทยก็ได้ สำเพ็งก็เยอะ


http://www.shezgood.com/shop/shopbrand.html?type=Y&xcode=030&mcode=005&sort=&page=2

http://www.modcloth.com/shop/dresses#?price=18,550&sort=newest&page=42%20http://www.aka.co.kr/shop/shopbrand.html?

http://www.cherrykoko.com/shop/shopbrand.html?type=Y&xcode=036&mcode=003&sort=&page=4

http://www.aka.co.kr/shop/shopbrand.html?page=3&xcode=040&mcode=015&scode=&type=X&search=&sort=order

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หน้าฝนและงานของหมออนามัย

ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย


ฝนตกขนาดนี้ ถึงคราวเทศกาลเกิดการระบาดของโรคล่ะคะ่
ที่เจอก็คือโรคไข้เลือดออกและโรคฉี่หนู 
เมื่อมีการระบาดเกิดขึ้นสิ่งที่หมออนามัยตัวน้อยๆต้องทำคือออกควบคุมโรค
ใช่แล้ว ต้องไปควบคุมโรค ทำยังไงบ้างน้อควบคุมโรค 

ทำอย่างนี้ค่ะ


แนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดโรคไข้เลือดออกระบาด 
เมื่อเกิดมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเกิดในชุมชนหรือหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่ต้องดำเนินการควบคุมโรคด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อให้โรคไข้เลือดออกสงบโดยเร็วที่สุด  ไม่ให้ระบาดติดต่อไปยังชุมชนอื่น หากเริ่มดำเนินการควบคุมช้า โรคจะแพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวางจนเกินกำลังที่จะควบคุม โดยปกติแล้วโรคไข้เลือดออกมักจะระบาดในฤดูฝน คือ ประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน หรือเดือนตุลาคม ของทุกปี  แต่ทั้งนี้สภาพภูมิอากาศในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน จึงทำให้ช่วงเวลาที่โรคไข้เลือดออกระบาดมีความแตกต่างกัน      สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการควบคุมการระบาด  เพื่อลดการแพร่กระจายของโรค  คือ การเฝ้าระวังโรค (Disease Surveillance) ที่รวดเร็ว ถูกต้อง และครบถ้วน เพื่อให้รู้การเกิดโรคได้โดยรวดเร็ว    การเฝ้าระวังทางกีฏวิทยา (Vector Surveillance)  สำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย ติดตามการเปลี่ยนแปลงประเภทแหล่งเพาะพันธุ์ที่สำคัญ (Key Container) ของยุงลาย   การเฝ้าระวังเกี่ยวกับผู้ป่วยและเชื้อ  โดยศึกษาแนวโน้มของโรค ชนิดของ serotype         แนวทางการปฏิบัติ  มีดังนี้
               1.ประกาศเตือนประชาชนให้ทราบว่ามีโรคไข้เลือดออกระบาดในชุมชนนั้น พร้อมกับให้สุขศึกษาแก่ประชาชน ให้รู้จักวิธีการป้องกันตนเองและครอบครัวไม่ให้ยุงลายกัด ให้ความรู้วิธีปฏิบัติเมื่อเด็กป่วยหรือสงสัยว่าป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก  และวิธีการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้าน และขอให้ประชาชนให้ความร่วมมือกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่อาจมีหลงเหลืออยู่ในชุมชนให้หมดไป  
                การกำจัดลูกน้ำยุงลายในบ้านผู้ป่วย และบริเวณรอบบ้านผู้ป่วยควรดำเนินการในรัศมีอย่างน้อย  100 เมตร และประเมินค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในพื้นที่ที่เกิดโรคหลังการควบคุม ควรมีค่า HI £ 10
               2.ใช้มาตรการเร่งด่วน เพื่อควบคุมการระบาด คือ การพ่นเคมีกำจัดยุงตัวเต็มวัย วิธีการนี้จะลดจำนวนยุงลายที่มีเชื้อไข้เลือดออกในชุมชน หากพ่นเคมีต้องครอบคลุมพื้นที่ จะช่วยตัดวงจรการระบาดของโรคลงได้  ทั้งนี้ทีมควบคุมโรคต้องมีความพร้อมในการควบคุมพาหะอย่างมีประสิทธิภาพเมื่อได้รับแจ้งว่ามีผู้ป่วย โดยจะสามารถปฏิบัติการได้ทันทีดำเนินการ ควบคุมแหล่งแพร่โรคภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อได้รับการยืนยันจาการสอบสวนผู้ป่วยโดย สสอ./สอ. ว่าเป็นพื้นที่นี้เป็นแหล่งแพร่โรค   ลักษณะการพ่นเคมีควรปฏิบัติตามการกระจายของผู้ป่วย ดังนี้
2.1    หากเกิดมีผู้ป่วย ควรดำเนินการควบคุมแหล่งแพร่โรค (หมู่บ้านหรือชุมชน) โดยพ่นสารเคมีในบ้านผู้ป่วย และพื้นที่รอบบ้านผู้ป่วยในรัศมีอย่างน้อย 100 เมตร ควรพ่นอย่างน้อย 2 ครั้งแต่ละครั้งห่างกัน 7 วัน  
2.2    หากเกิดมีผู้ป่วยกระจายทั่วไปในชุมชนหรือหมู่บ้าน ควรพ่นทุกหลังคาเรือนในชุมชน และควรพ่นเคมีให้มีบริเวณกั้นกลาง (Barrier Zone) ที่ปลอดยุงรอบชุมชนนั้นด้วย หากมีหมู่บ้านอื่นอยู่ข้างเคียง ก็ควรพิจารณาพ่นเคมีเพิ่มเติมให้แก่หมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงนั้นด้วย
               3.  รายงานโรคไข้เลือดออก (DF/DHF/DSS) ทั้งรายที่สงสัยและที่ได้รับการยืนยันทันที เพื่อการควบคุมโรค
               4. พัฒนาทีมเฝ้าระวังและควบคุมโรคระดับอำเภอ ให้สามารถดำเนินการควบคุมโรคอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและทันเวลา
                5. ให้สถานพยาบาลทุกแห่ง เตรียมพร้อมทั้งบุคลากรและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการรักษาโรคไข้เลือดออก เพื่อรองรับการระบาด
                6. ประสานความร่วมมือและพัฒนาศักยภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเครือข่ายในชุมชน เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข ให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมควบคุมโรคไข้เลือดออก
1.    การเฝ้าระวัง  ป้องกัน และควบคุมโรค
·        Passive Surveillance
o   เน้นคุณภาพการรายงานที่ถูกต้อง ทันเวลา
o   การวิเคราะห์รายงาน จากระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค ที่ศูนย์ควบคุมโรคระดับอำเภอ จังหวัด และเขต
o   พัฒนาการใช้ข้อมูลทางระบาดวิทยา เพื่อการเตือนภัยในทุกระดับ (การปฏิบัติงานตามยุทธศาสตร์ 3 ระยะ การใช้ Target line, Base line และ Median ) รวมทั้งส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการพยากรณ์และการเตือนภัยทางระบาดวิทยา
·        Active Surveillance
o   การเฝ้าระวังผู้ป่วยมีไข้ระดับ PCU (Fever Alert) โดยให้ทีมควบคุมโรคระดับพื้นที่เข้าดำเนินการสอบสวนและควบคุม ( กำจัดทำลายแหล่งโรคในพื้นที่ผิดปกติ
·        Serological Surveillance
o   สุ่มตัวอย่างผู้ป่วยส่งตรวจ โดยเฉพาะในช่วงฤดูก่อนการระบาด เพื่อประเมินสถานการณ์การระบาดของโรค
·        Vector Surveillance
o  กำหนดมาตรการป้องกันโรคโดยให้มีการลดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในทุกชุมชนของเขตเมือง และทุกหมู่บ้าน
o  จัดระบบการสุ่มสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย เพื่อติดตาม กำกับ และประเมินผลการดำเนินงานตามมาตรการป้องกันโรคของพื้นที่
·      การควบคุมการระบาด
o    การสอบสวนโรคเพื่อหาแหล่งโรค ในพื้นที่ระบาดและดำเนินการควบคุมการแพร่โรค
o  พัฒนาศักยภาพของ SRRT ในด้านการวิเคราะห์ข้อมูล สถานการณ์ระบาด และดำเนินการควบคุมโรคได้ตามมาตรฐานอย่างมีประสิทธิภาพ
o  การพัฒนาทีมปฏิบัติการควบคุมการระบาดในพื้นที่ โดยการสอบสวน ทำลายแหล่งยุงลาย โดยเน้นการใช้บุคลากรที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานสาธารณสุข ร่วมกับบุคลากรท้องถิ่น
2.      พัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่าย และชุมชนในการป้องกันควบคุมโรค
§ พัฒนาศักยภาพชุมชนแบบเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน เทคนิคประชาคมและใช้บทสรุปของประชาคม ในการป้องกันควบคุมโรค
§  สนับสนุนการสร้างชุมชนเข้มแข็งโดยดำเนินการบ้านปลอดลูกน้ำยุงลายยั่งยืนโดยใช้การประกวดและการรณรงค์เพื่อการกำจัดและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในระดับครัวเรือน โดยใช้มาตรการทางกายภาพ ชีวภาพ และภูมิปัญญาท้องถิ่น
§  สนับสนุนกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคในโรงเรียน  โดยเฉพาะโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในโรงเรียน ชุมชน และบ้าน
§  ประสานงานและสนับสนุนหน่วยงาน และองค์กรปกครองท้องถิ่น เพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการด้านกฎหมายในการป้องกันควบคุมโรค
3.         การพัฒนาระบบบริหารจัดการในพื้นที่
§  ผลักดันให้เป็นนโยบายระดับจังหวัด เพื่ออำนาจการสั่งการผ่าน ผู้ว่าราชการจังหวัด/ นายอำเภอ
§  จัดประชุมเครือข่ายระดับจังหวัด อำเภอ  อปท.เพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยง ทิศทาง บทบาทและเกณฑ์การติดตามประเมินผล ให้มีการดำเนินงานแบบ Partnership
§  จัดระบบการควบคุมคุณภาพและประเมินผลการป้องกันโรค โดยใช้ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (House Index, Container Index) และการประเมินประสิทธิภาพการควบคุมโรค
§  สรุปวิเคราะห์และแนวทางการแก้ไขของ War room เครือข่ายระดับพื้นที่ และการใช้ประโยชน์จากระบบการวิเคราะห์รายงาน
4.         การประชาสัมพันธ์ และแจ้งข้อมูลข่าวสาร เพื่อสร้างความตระหนักและการให้ความร่วมมือในการป้องกันควบคุมโรค ผ่านหอกระจายข่าว และสื่อท้องถิ่น


ก็ออกไปคว่ำลูกน้ำยุงลายไปตามประสา 

ทั้งร้อนและเหนื่อย แต่เราก็สู้ๆๆ


พ่นหมอกควัน













                









              
 




หมออนามัยทำอะไรบ้าง

สงสัยไหมคะ ว่าหมออนามัยทำอะไรบ้าง ๑___@

ตำแหน่งของพิมในอนามัย ( ปัจจุบัน เปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล) ย่อว่า รพ.สต.

ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข  

สิ่งที่ต้องทำ เรียกว่าเป็นงานประจำเลย คืองานรักษาพยาบาล ยกเว้นว่า ถ้าที่ไหนมีน้องพยาบาล 
ก็ให้น้องพยาบาลทำค่ะ

ที่ รพ.สต. จะมีพนักงานรวมกันอยู่หลายตำแหน่งด้วยกัน ประกอบด้วย

1. ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ( ต้องมี )
2.นักวิชาการสาธารณสุข (เรียนจบปริญญาตรี )
3.เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน (เรียน 2 ปี)
4.พยาบาล (เทคนิค 2 ปี ) วิชาชีพ (4 ปี)
5.ภารโรง
6.แพทย์แผนไทย

ประมาณนี้ค่ะ ถ้าที่ไหน ใหญ่โตหน่อยก็จะเป็นหลายคนกว่านี้ อาจจะเบิ้ลตามจำนวนเงินจ้าง ตามความร่ำรวยของแต่ละที่ ส่วนมากงานที่ต้องทำคือ ให้บริการรักษาพยาบาล

แต่งานในรพ.สต. นั้นเป็นงานที่อยู่ในชุมชน คนที่มารับบริการส่วนมากคือ ชาวบ้านตาสีตาสา เพราะถ้าข้าราชการคนรวยๆ ส่วนมากกักจะไปคลีนิคกัน งานที่อนามัยจะเป็นงานที่เข้าถึงชุมชน มองหน้ากันก็ถามหาคนในครอบครัว

คนที่จะมาทำอาชีพนี้ได้ต้องใจรัก เพราะนอกจากเราจะต้องทำงานเหล่านี้แล้ว ยังมีงานจร อีกมากมายหลั่งไหลเข้ามาให้เราทำมิเว้นวัน

ใครทำอะไรได้ไปร่วมงานกับเขาไปทั่ว แน่นอนจริงๆ 

บางครั้งไม่เคยทำ อาจได้ทำ ไม่เคยกินก็ต้องได้กิน สนุกมากค่ะ ชีวิตมีสีสันสุดๆ



ควบคุมโรค 

ทักทายตามประสา

กล่าวถึงความเป็นมาก่อนจะเขียนบล๊อกนี้ก่อนแล้วกัน

ปกติตัวพิมเองก็จะเขียน Diary ออนไลน์อยู่แล้ว

ทีนี้ก็เลยมาเปิดบล๊อกของ Google ดู เพราะ มันฟรี

ส่วนเรื่องที่จะคุยจะเล่าก็จะเป็นเรื่องเล่าตามประสานั่นหล่ะ

ตัวพิมเองทำงานเป็น หมออนามัย ตัวเล็กๆ(อ้วน๐) อยู่ที่อนามัยตำบลแห่งหนึ่ง

ทำงานก็มีความสุขตามประสา ดีใจมากค่ะ ที่ได้บริการคนได้ช่วยเหลือผู้อื่น 

เพราะตัวเองก็ชอบทำบุญอยู่แล้ว 

คนส่วนมาก มักจะรู้จักแต่ แพทย์ พยาบาล เภสัช ทันตแพทย์

แต่หลายๆ คนอาจจะไม่รู้จัก หมออนามัย

รอบนี้ล่ะ ใครอยากรู้ว่าหมออนามัยทำหน้าที่อะไรบ้าง

สอบถามได้ค่ะ ว่าเรียนอะไรมาถึงได้เป็นหมออนามัย

แรกเริ่มเดิมที มาจาไหน ไปไงมาไงถึงได้มาทำอาชีพนี้ แล้วมันต่างจากอาชีพอื่นยังไง

เงินเดือนเยอะไหม แล้วต้องทำอะไรบ้าง เรียนสายไหน สอบเข้ายังไง เก้าลอเก้า

สอบถามได้

ยินดีให้คำแนะนำนะคะ

>________________<




หนทางที่เดิน ทางดินแดง